วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

Another Brick in the Wall


สังคมเราในสมัยนี้มักทำตัวเรียนแบบมากกว่าเรียนรู้   เริ่มต้นด้วยการที่เราพยายามยัดเหยียดสิ่งที่เราเคยถูกยัดเหยียดมาก่อนจากคนรุ่นก่อน...ไปสู่คนรุ่นหลัง สิ่งที่เราถูกยัดเหยียดมาเราจะชอบหรือไม่ชอบ เราก็ไม่มีสิทธิ์เลือก  เช่นเวลาที่เราไปโรงเรียน เราก็ถูกบังคับยัดเหยียดให้ทำตามกฎ ตามระเบียบของของโรงเรียน เราก็จะถูกปั๊มให้เป็นเพียงอิฐก้อนหนึ่งที่พวกเขาปั๊มมาแล้ว” เป็นเหมือนหุ่นยนต์, ต้องคิดตามแบบแผนที่ได้เรียนมา  เวลาเครียดจากการเรียนหรือการทำงานก็ต้องคิดตามแบบแผนและกระบวนการว่าจำทำอย่างไรให้หายเครียด “เรากำลังเอาความคิดไปแก่ความคิด” ยิ่งคิดก็ยิ่งเครียด...ยิ่งเครียดก็ยิ่งทุกข์.
วิธีที่จะแก้ความคิดได้ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ “ไม่คิด” เมื่อเลิกคิดก็เลิกทุกข์  เพราะเราติดอยู่ในกรอบความคิดเราจึงออกจากความคิดไม่ได้  เผลอเมื่อไหร่ก็กลับมาคิด.  ถ้าเราอยากจะเลิกคิดเราต้องรู้จักวางความคิด  การวางความคิดไม่ใช่เลิกคิดแต่เป็นการรู้เท่าทันความคิด “ไม่คิด” ตามความคิดที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น   เราจะเป็นเพียงผู้เห็นความคิดนั้นแต่ไม่คิดไปตามความคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น เมื่อเราไม่คิดตามความคิดนั้น “ความคิดมันเกิดขึ้นเดี๋ยวมันก็ดับ” แล้วเราจะเป็นอิสระจากความคิดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราทุกข์ อย่าเป็นเหมือน MV ด้านล่างนี้ล่ะ(เขากำลังแสดงธรรมให้เราดู "เห็นเขาก็เห็นตัวเรานั้นเอง").






ที่มา www.youtube.com/watch?v=YR5ApYxkU-U

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

วีดีโอนี้มีธรรมะแทรกอยู่?


ลองดูว่า วีดีโอเพลงนี้มีอะไรพอที่จะเป็นธรรมะสอดแทรกให้เราได้พิจารณาได้บ้าง...


ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=cuPYQyaCGNA.

พระรัตนตรัย

พระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี
พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก่
พระพุทธ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง แล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย, วาจา, ใจ ตามพระวินัย
พระธรรม คือ พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระสงฆ์ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย
ที่มา:      ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน2556หน้า 988