สังคมเราในสมัยนี้มักทำตัวเรียนแบบมากกว่าเรียนรู้
เริ่มต้นด้วยการที่เราพยายามยัดเหยียดสิ่งที่เราเคยถูกยัดเหยียดมาก่อนจากคนรุ่นก่อน...ไปสู่คนรุ่นหลัง
สิ่งที่เราถูกยัดเหยียดมาเราจะชอบหรือไม่ชอบ เราก็ไม่มีสิทธิ์เลือก เช่นเวลาที่เราไปโรงเรียน
เราก็ถูกบังคับยัดเหยียดให้ทำตามกฎ ตามระเบียบของของโรงเรียน “เราก็จะถูกปั๊มให้เป็นเพียงอิฐก้อนหนึ่งที่พวกเขาปั๊มมาแล้ว”
เป็นเหมือนหุ่นยนต์, ต้องคิดตามแบบแผนที่ได้เรียนมา
เวลาเครียดจากการเรียนหรือการทำงานก็ต้องคิดตามแบบแผนและกระบวนการว่าจำทำอย่างไรให้หายเครียด
“เรากำลังเอาความคิดไปแก่ความคิด” ยิ่งคิดก็ยิ่งเครียด...ยิ่งเครียดก็ยิ่งทุกข์.
วิธีที่จะแก้ความคิดได้ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ
“ไม่คิด” เมื่อเลิกคิดก็เลิกทุกข์
เพราะเราติดอยู่ในกรอบความคิดเราจึงออกจากความคิดไม่ได้ เผลอเมื่อไหร่ก็กลับมาคิด. ถ้าเราอยากจะเลิกคิดเราต้องรู้จักวางความคิด การวางความคิดไม่ใช่เลิกคิดแต่เป็นการรู้เท่าทันความคิด
“ไม่คิด” ตามความคิดที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น
เราจะเป็นเพียงผู้เห็นความคิดนั้นแต่ไม่คิดไปตามความคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น
เมื่อเราไม่คิดตามความคิดนั้น “ความคิดมันเกิดขึ้นเดี๋ยวมันก็ดับ” แล้วเราจะเป็นอิสระจากความคิดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราทุกข์ อย่าเป็นเหมือน MV ด้านล่างนี้ล่ะ(เขากำลังแสดงธรรมให้เราดู "เห็นเขาก็เห็นตัวเรานั้นเอง").