วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หนังสั้นแรงบันดาลใจ

“สับปะรด”
บางครั้ง...ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน


ที่มา: หนังสั้นแรงบันดาลใจ จากโครงการสารรัก AIS


วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ศาสนาพุทธในประเทศจีน





พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศจีน ดังที่ปรากฏในหลักฐาน เมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระจักรพรรดิเม่งเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น พระได้จัดส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์ รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยาง พระเจ้าฮั่นเม่งเต้ ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง 2 รูป นั้นซึ่งมีชื่อว่า วัดแป๊ะเบ๊ยี่ แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากับพระเถระทั้งสอง หลังจากนั้นพระปาศยมาตังตะ กับพระธรรมรักษ์ได้แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนเล่มแรก
เนื้อหา  1 ประวัติพุทธศาสนาในประเทศจีน
1.1 ยุคราชวงศ์ฮั่น
1.2 ยุคราชวงศ์ถัง
1.3 ยุคสาธารณรัฐจีน
1.4 ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน
2 พุทธศาสนาในปัจจุบัน
3 พุทธศาสนาเถรวาทในจีน
3.1 พุทธศาสนาในสิบสองปันนา
3.2 พุทธศาสนาในเขตปกครองตนเองไทใต้คง
4 อ้างอิง
5 ดูเพิ่ม


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ ศาสนาพุทธในประเทศจีน

พุทธศาสนากับการศึกษา


บทความที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นการนำบทความที่ได้มีการทำรายงานอภิปราย เรื่อง พุทธธรรมนำการศึกษาได้อย่างไร โดย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการรายงานผลจากการสัมมนาทางวิชาการเรื่องการปฎิรูปการศึกษา: ก้าวสู่ปีที่ ๓ “ศาสนากับการปฎิรูปการเรียนรู้” เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ณ ห้องประชุม Plenary Hall  ๒ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ดูรายละเอียดจากเว็บไซด์


ที่มา: http://www.onec.go.th/onec_backoffice/uploads/Book/878-file.PDF

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พุทธสุภาษิต




ข้อคิดเตือนใจ...กับพุทธศาสนาสุภาษิตน่ารู้

เพราะมนุษย์แทบทั้งหลายยังไม่สามารถตัดกิเลสได้หมดสิ้น จึงต่างยังมี ความโลภ โกรธ หลง ซึ่งบ่อยครั้งความรู้สึกต่าง ๆ นั้น ก็พาให้เกิดการกระทำ และคำพูดที่ไม่ดี แน่นอนว่ามันย่อมส่งผลแย่ทั้งแก่จิตใจของเราเอง และผู้อื่น ดังนั้นเพื่อเป็นการเตือนสติให้ระลึกอยู่เสมอในการทำสิ่งใด ๆ เราจึงได้คัดสรร พุทธศาสนสุภาษิตน่ารู้ มาฝากเพื่อน ๆ กัน
          ทั้งนี้ พุทธศาสนสุภาษิต คือ คำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เป็นเหมือนข้อคิด ข้อเตือนใจ ซึ่งจากคำสอนเหล่านี้ เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และคนรอบข้างได้ดีอีกด้วย ถ้าอยากรู้ข้อคิดดี ๆ ในการดำเนินชีวิตจาก พุทธศาสนสุภาษิตน่ารู้ แล้วล่ะก็ ตามมากันเลย.


ที่มา: http://www.dhammathai.org , www.dhammajak.net

พุทธศาสนานิกายเซ็น






พุทธศาสนานิกายเซ็น
Zen Buddhism

1. ความเป็นมา
2. การบรรลุธรรม
3. วิธีการบรรลุธรรม
   3.1 ซาเซ็น
   3.2 ซันเซ็น
   3.3 มนโด
4. ปริศนาธรรม
   4.1 ความหมาย
   4.2 ความเป็นมา
   4.3 จุดหมาย
5. เซ็นกับจริยศาสตร์
เอกสารอ้างอิง
เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม
คำที่เกี่ยวข้อง



1. ความเป็นมา
พุทธศาสนานิกายเซ็นเป็นพุทธศาสนานิกายหนึ่งที่พัฒนาขึ้นในดินแดนจีนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 โดยการผสมผสานแนวคิดของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจากอินเดียและปรัชญาเต๋าในจีน คำว่า เซ็น” (Zen) นี้มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสฤตว่า ธยานะ” (dhyana) และภาษาบาลีว่า ฌาณ” (jhana) ที่แปลว่า สมาธิเมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่สู่ดินแดนจีน ชาวจีนออกเสียงคำนี้ว่า ฉาน” (Ch’an) ต่อมาจึงพัฒนาเป็นพุทธศาสนานิกายฉาน และดินแดนญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลของแนวคิดนิกายฉานนี้เข้ามา แต่ที่เรียกเป็นพุทธศาสนานิกายเซ็นก็เพราะชาวญี่ปุ่นออกเสียงคำว่า ฉานเป็น เซ็นต่อมาพุทธศาสนานิกายนี้ได้พัฒนาออกไปเป็นหลายสำนัก แต่มีแนวคิดหลักร่วมกัน คือเป็นพุทธศาสนาที่เน้นการปฏิบัติสมาธิ

จุดกำเนิดของแนวคิดนิกายเซ็นมีมาแต่ครั้งพุทธกาลจากพระสูตรสัทธรมปุณฑรีกสูตรที่ว่าด้วยปัญหาที่ ท้าวมหาพรหมทูลถามพระพุทธองค์ ดังเนื้อความต่อไปนี้


ที่มา: สารานุกรมปรัชญาออนไลน์ฉบับสังเขป

"พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ อุบัติในภัททกัปนี้"
คำว่า "กัป" หมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักวาฬ ประลัยครั้งหนึ่ง คือกำหนดอายุของโลก ท่านให้เข้าใจด้วยอุปามาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ 1 โยชน์ (๔๐๐ เส้นหรือประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ทุก 100 ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวกว่านั้น
"กัป" ปัจจุบันนี้เรียกว่า "ภัททกัป" หรือ "ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ เพราะในภัททกัปจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ คือ
          ๑. พระกกุสันธะ
          ๒. พระโกนาคมนะ
          ๓. พระกัสสปะ
          ๔. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)
          ๕. พระศรีอริยเมตไตรย
ในภัททกัปนี้จักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่ง พระองค์คือ "พระศรีอริยเมตไตรย"
บทนมัสการว่า "นโม พุทธาย" แปลตามศัพท์ว่า "นอบน้อมแต่พระพุทธเจ้า"เป็นคำ กลาง ๆ แต่ก็นับถือกันว่าเป็นบทไหว้พระพุทธเจ้า ๕ ประองค์ น่าจะเพราะนับได้ ๕ อักษร และพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นั้น ก็หมายถึง พระพุทธเจ้าซึ่งได้อุบัติแล้วและจักอุบัติในภัททกัปนี้


ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข



สวดมนต์ภาวนา

บทกวีทิพย์ :: สวดมนต์ภาวนาทำไม?

 "สวดมนต์ทำไม?"......เพื่อใจสงบ    แล้วจะพบแสงสว่างทางกุศล
สวดออกเสียงหนัก-เบาเราทุกคน    "ชอบสวดมนต์-สวดในใจ"ใช้ได้จริง!!!
จะสวดดัง-สวดค่อย....บ่อยๆสวด    เมื่อ"จิตบวช-ใจสบาย"ทั้งชายหญิง
"ทั้งกาย-วาจา-ใจ"เลื่อมใสจริง    "ทั้งสามสิ่งรวมเป็นหนึ่ง.....เข้าถึงธรรม"!!!
"จิตสงบ-พบปัญญา-วิชชาเกิด"    สุดประเสริฐชื่นชมว่าคมขำ
"ศีล-สมาธิ-ปัญญา"พร้อมเข้าน้อมนำ    "เข้าถึงธรรมปฏิบัติวิปัสสนา"
"คำบริกรรม"ก็คือ"บทสวดมนต์    ใช้สอนตน"ปรมัตถ์พระสัตถา
หากสวดแล้วรู้ความหมายหญิงชายภา-    วนาว่าสมควร....ด่วนทำตาม!!!
"บทสวดมนต์ทุกบทนั้นล้วนสรรเสริญ-    คุณพระ"เกินจะสบโชคทั่วโลกสาม
"คุณพระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์"คงทุกยาม    เป็นความงามในอรรถรสพจมาน!!!
ฉัน"สวดมนต์ไหว้พระสละกิเลส"    ด้วยผลเหตุยิ่งใหญ่สุดไขขาน
"เพื่อพัฒนาชีวิต-จิตวิญญาณ"    เพื่อ"กลับบ้านในชาตินี้"ไม่รีรอ
"รับแสงทิพย์ฯ+พระเจ็ดองค์"ธำรงจิต    คู่ชีวิต"ส่งกลับบ้าน-นิพพาน"หนอ
เมื่อแผ้วถาง"สร้างบารมี"ให้ดีพอ    คืนหา"พ่อ-พระบิดา"ของข้าเอยฯ.....  


ที่มา: พุทธญาณ แสงทิพย์ พุทธกวีทิพย์ (buddhayansangthip-at-buddhapoem-dot-com)2009-09-07

Wisdom

Wisdom is the ability to think and act using knowledge, experience, understanding, common sense, and insight.Wisdom has been regarded as one of four cardinal virtues; and as a virtue, it is a habit or disposition to perform the action with the highest degree of adequacy under any given circumstance. This implies a possession of knowledge or the seeking thereof to apply it to the given circumstance. This involves an understanding of people, objects, events, situations, and the willingness as well as the ability to apply perception, judgement, and action in keeping with the understanding of what is the optimal course of action. It often requires control of one's emotional reactions (the "passions") so that the universal principle of reason prevails to determine one's action. In short, wisdom is a disposition to find the truth coupled with an optimum judgement as to what actions should be taken.

Sourced by: Wikipedia, the free encyclopedia

วิปัสสนา

วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง

วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.

อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.

ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.

ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.

ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.

การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ

อุคคหะ การเรียนพระธรรม
ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้

พื้นฐานเหล่านี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง พระพุทธองค์ถึงกับกล่าวให้คนที่ไม่ทำตามลำดับ ตามขั้นตอนพื้นฐานให้เป็น "โมฆบุรุษ" เลยทีเดียว ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำตำหนิที่รุนแรงมากในสมัยนั้น.

ที่มา: จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558